toolmorrow
Social and Behavior Change Communication lab
เริ่มต้นจากการวิจัย วางกลยุทธ์ ออกแบบสื่อ หรือ ออกแบบกิจกรรมเพื่อทำลายความเชื่อผิดๆ และปรับความคิด “ชุดใหม่” อย่างมีมิติผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม และสังคมให้ดีขึ้น
ผลงานของเรา
“น้ำเสียง” มีผลต่อความรู้สึกของแม่แค่ไหน?
- ชื่อหนัง : แค่เปลี่ยนน้ำเสียง…แม่ก็มีความสุข
- Concept
- เพราะการสื่อสารที่ดีไม่ได้มีแค่เนื้อหาที่ครบถ้วน หรือคำพูดที่สวยหรู แต่น้ำเสียงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ เป็นสิ่งที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด และก็สามารถสร้าง หรือทำลายความรู้สึกดีๆ ของผู้ฟังได้เลย
- อย่างที่เราเคยได้ยินคำว่า “คำพูด ประโยคเดียวกัน พูดด้วยน้ำเสียง และวิธีการต่างกัน ก็สื่อความหมายต่างกันไปได้”
- เราจึงได้ทำการทดสอบให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้น้ำเสียงกับคนเรารักผ่าน แม่-ลูก สามคู่ ว่าแค่เพียงลูกพูดด้วยน้ำเสียงห้วนๆ ไม่น่าฟังมีผลต่อความรู้สึกของแม่แค่ไหน?
- ลูกค้า : Double A
- ลักษณะคลิป : experiment
กตัญญูง่ายกว่าที่คิด
- ชื่อหนัง : กตัญญูง่ายกว่าที่คิด
- Concept
- ความกตัญญู เป็นอีกหนึ่งค่านิยมที่หลายๆ คนมองว่าเป็นสิ่งที่สวยงามเมื่อลูกได้ตอบแทนพ่อแม่
- และความกตัญญูในความหมายของใครหลายๆ มักจะมีรูปแบบที่ตายตัว เช่น ต้องให้เงินเดือน ต้องกลับบ้าน ต้องรับราชการ ต้องบวช ต้องซื้อของใหญ่ๆ ให้พ่อแม่
- แต่ในขณะเดียวกันลูกบางคนเองก็รู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะตอบแทน เพราะเพิ่งเรียนจบ เงินยังไม่มากมาพอที่จะไปดูแลหรือให้พ่อแม่ได้ขนาดนั้น ถ้าไม่ตอบแทนจะถูกมองว่าเป็นลูกอกตัญญู
- สุดท้ายความลูกที่ยังไม่พร้อมตอบแทนพ่อแม่ก็จะมีความคิดที่ว่า กตัญญูทำไมทำยากจัง ทำให้พวกเขาอึดอัดใจและรู้สึกผิดที่ทำไมตัวเองทำให้พ่อแม่ไม่ได้เหมือนกับลูกบ้านอื่น
- เราจึงอยากพิสูจน์ให้เห็นว่า จริงๆ แล้วความกตัญญูไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว และก็ทำได้ง่ายกว่าที่คิดเสียอีก
- ลูกค้า : CP group
- ลักษณะคลิป : experiment
การศึกษาไทยใช้ระบบเดียวตัดสินเด็ก
- ชื่อหนัง : การศึกษาไทยใช้ระบบเดียวตัดสินเด็ก
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการศึกษา ชวนให้สังคมตั้งคำถามและขบคิดกันต่อว่าการศึกษาไทยควรใช้ระบบเดียวตัดสินเด็กจริงหรือ?
- เพราะปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการติดอยู่กับกรอบหรือขนบเดิมๆ โดยเฉพาะยึดติดกับการมุ่งเน้นผลิตนักเรียนเพื่อเข้าไปตอบสนองอุตสาหกรรมต่างๆ ตามกระแส ส่งผลทำให้ “นักเรียนสวนกระแส” ผู้มีความถนัดในด้านอื่นๆ นอกตำราวิชาการถูกบังคับให้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ชอบ พวกไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของกระบวนการเรียนรู้ ไม่เป็นตัวของตัวเองซึ่งในท้ายที่สุดนักเรียนเหล่านี้ก็จะขาดกำลังใจและหมดไฟกับการศึกษา
- พวกเราจึงอยากถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซปต์ “การศึกษาที่ดีไม่ควรใช้ระบบเดียวมาตัดสินเด็ก” เพราะเราไม่สามารถวัดทุกอย่างได้ด้วยไม้บรรทัดเพียงอันเดียว เด็ก ๆ ก็เหมือนกัน เราไม่สามารถวัดได้ว่าเด็กคนไหนเก่ง เด็กคนไหนไม่เก่ง ด้วยการเรียนการสอนเพียงรูปแบบเดียว เพราะเด็กมีความชอบและความสามารถที่แตกต่างกัน
- ผ่านการเล่าเรื่องโดยเด็กขบถที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาและฝากคำถามถึงสังคมไว้ว่า “สรุปแล้วเขาเป็นคนเก่งจริงหรือไม่?”
- ลูกค้า : Thailand Education Partnership
- ลักษณะคลิป : experiment
นักล่าข่าวปลอม
- ชื่อหนัง : นักล่าข่าวปลอม
- Concept
- รายการที่สะท้อนภาพปัญหาการใช้สื่อโซเชียลแบบขาดการระมัดระวังการส่งผลให้ถูกหลอกได้ง่ายเพราะรู้ไม่เท่าทันสื่อ
- เนื่องจากพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันเสพข่าวจากโลกโซเชียลมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ไม่จํากัดเพศหรือวัย ยิ่งทําให้ข่าวปลอมถูกพัฒนาและส่งต่อได้ง่าย จนเกิดเป็นวิกฤติข่าวปลอมขึ้นจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันและป้องกันภัยจากสื่อโซเชียล
- เราจึงถ่ายทอดออกมาเป็นรูปรายการ ชื่อว่า “นักล่าข่าวปลอม” ที่อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้วิธี แยกแยะข่าวจิรงกับข่าวปลอมให้ออกด้วยความสนุกสนาน ไม่เครียด และเข้าใจง่าย เพื่อไม่เกิดผลกระทบจากข่าวปลอมตามมา
- ลูกค้า : กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- ลักษณะคลิป : gameshow
โรงเรียนนี้ได้รางวัลเยอะ
- ชื่อหนัง : โรงเรียนนี้ได้รางวัลเยอะ
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาที่ข้องเกี่ยวกับค่านิยมวัดนักเรียนด้วยเกรดเฉลี่ยและชื่นชมเฉพาะเด็กเรียนเก่งเท่านั้น
- เมื่อโรงเรียนให้คุณค่ากับนักเรียนที่เก่งวิชาการ เพราะรางวัลที่โรงเรียนได้จากเด็กกลุ่มนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาให้โรงเรียน จนหลงลืมไปว่ายังมีเด็กๆ อีกหลายคนที่ถึงแม้พวกเขาไม่ได้เก่งวิชาการ แต่ก็มีความสามารถด้านอื่นๆ
- เราจึงถ่ายถอดออกมาในคอนเซปต์ “อย่าตีกรอบความเก่งไว้แค่ด้านวิชาการ” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับลุงภารโรงที่อยู่โรงเรียนมานาน พบเด็กเก่ง เด็กเกรียนมามากมายและสิ่งสำคัญที่เขาค้นพบ คือ เล็งเห็นศักยภาพของกลุ่มเด็กที่ไม่เก่งวิชาการ พวกเขาก็สามารถเติบโตได้เช่นกัน ถ้าเราหันมาให้ความสำคัญและร่วมสร้างโรงเรียนที่เด็กทุกคนเติบโตได้
- ลูกค้า : TDRI
- ลักษณะคลิป : Film
ขับรถในชุมชนใช้ความเร็วเท่าไร?
- ชื่อหนัง : ขับรถในชุมชนใช้ความเร็วเท่าไร?
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จากผู้ขับขี่ที่ยังมีความเชื่อกันว่า “ขับช้าแค่นี้เอง ไม่เร็วเท่าไรหรอก”
- แต่ในความจริงนั้นคนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนดก่อให้เกิดสถิติที่น่าตกใจ เพราะตัวเลขของชีวิตคนเดินเท้าและนักปั่นจักรยานในเมืองไทยต้องตายถึง 200 คน/ปีเลยทีเดียว
- โดยในไทยกำหนดความเร็วในเขตเมืองอยู่ที่ 80 กิโลโมตรต่อชั่วโมง และ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตชุมชนที่มีความกว้างของถนนไม่เกิน 7 เมตร ซึ่งการใช้ความเร็วที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นจะทำให้โอกาสรอดชีวิตมีมากถึง 98% หากเกิดการขับรถชนคนที่เดินอยู่บนทางเท้า
- เราจึงถ่ายทอดผ่านการทดสอบให้อาสาสมัครขับขี่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงช่วยให้คนเดินเท้ามีโอกาสรอดชีวิตได้จริงหรือไม่?
- ลูกค้า : Bloomberg philanthropies
- ลักษณะคลิป : experiment
Our Clients









WEEKLY UPDATES
“น้ำเสียง” มีผลต่อความรู้สึกของแม่แค่ไหน?
- ชื่อหนัง : แค่เปลี่ยนน้ำเสียง…แม่ก็มีความสุข
- Concept
- เพราะการสื่อสารที่ดีไม่ได้มีแค่เนื้อหาที่ครบถ้วน หรือคำพูดที่สวยหรู แต่น้ำเสียงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะ เป็นสิ่งที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด และก็สามารถสร้าง หรือทำลายความรู้สึกดีๆ ของผู้ฟังได้เลย
- อย่างที่เราเคยได้ยินคำว่า “คำพูด ประโยคเดียวกัน พูดด้วยน้ำเสียง และวิธีการต่างกัน ก็สื่อความหมายต่างกันไปได้”
- เราจึงได้ทำการทดสอบให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้น้ำเสียงกับคนเรารักผ่าน แม่-ลูก สามคู่ ว่าแค่เพียงลูกพูดด้วยน้ำเสียงห้วนๆ ไม่น่าฟังมีผลต่อความรู้สึกของแม่แค่ไหน?
- ลูกค้า : Double A
- ลักษณะคลิป : experiment
กตัญญูง่ายกว่าที่คิด
- ชื่อหนัง : กตัญญูง่ายกว่าที่คิด
- Concept
- ความกตัญญู เป็นอีกหนึ่งค่านิยมที่หลายๆ คนมองว่าเป็นสิ่งที่สวยงามเมื่อลูกได้ตอบแทนพ่อแม่
- และความกตัญญูในความหมายของใครหลายๆ มักจะมีรูปแบบที่ตายตัว เช่น ต้องให้เงินเดือน ต้องกลับบ้าน ต้องรับราชการ ต้องบวช ต้องซื้อของใหญ่ๆ ให้พ่อแม่
- แต่ในขณะเดียวกันลูกบางคนเองก็รู้สึกว่ายังไม่พร้อมที่จะตอบแทน เพราะเพิ่งเรียนจบ เงินยังไม่มากมาพอที่จะไปดูแลหรือให้พ่อแม่ได้ขนาดนั้น ถ้าไม่ตอบแทนจะถูกมองว่าเป็นลูกอกตัญญู
- สุดท้ายความลูกที่ยังไม่พร้อมตอบแทนพ่อแม่ก็จะมีความคิดที่ว่า กตัญญูทำไมทำยากจัง ทำให้พวกเขาอึดอัดใจและรู้สึกผิดที่ทำไมตัวเองทำให้พ่อแม่ไม่ได้เหมือนกับลูกบ้านอื่น
- เราจึงอยากพิสูจน์ให้เห็นว่า จริงๆ แล้วความกตัญญูไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว และก็ทำได้ง่ายกว่าที่คิดเสียอีก
- ลูกค้า : CP group
- ลักษณะคลิป : experiment
การศึกษาไทยใช้ระบบเดียวตัดสินเด็ก
- ชื่อหนัง : การศึกษาไทยใช้ระบบเดียวตัดสินเด็ก
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการศึกษา ชวนให้สังคมตั้งคำถามและขบคิดกันต่อว่าการศึกษาไทยควรใช้ระบบเดียวตัดสินเด็กจริงหรือ?
- เพราะปัญหาของระบบการศึกษาไทยคือการติดอยู่กับกรอบหรือขนบเดิมๆ โดยเฉพาะยึดติดกับการมุ่งเน้นผลิตนักเรียนเพื่อเข้าไปตอบสนองอุตสาหกรรมต่างๆ ตามกระแส ส่งผลทำให้ “นักเรียนสวนกระแส” ผู้มีความถนัดในด้านอื่นๆ นอกตำราวิชาการถูกบังคับให้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ชอบ พวกไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของกระบวนการเรียนรู้ ไม่เป็นตัวของตัวเองซึ่งในท้ายที่สุดนักเรียนเหล่านี้ก็จะขาดกำลังใจและหมดไฟกับการศึกษา
- พวกเราจึงอยากถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซปต์ “การศึกษาที่ดีไม่ควรใช้ระบบเดียวมาตัดสินเด็ก” เพราะเราไม่สามารถวัดทุกอย่างได้ด้วยไม้บรรทัดเพียงอันเดียว เด็ก ๆ ก็เหมือนกัน เราไม่สามารถวัดได้ว่าเด็กคนไหนเก่ง เด็กคนไหนไม่เก่ง ด้วยการเรียนการสอนเพียงรูปแบบเดียว เพราะเด็กมีความชอบและความสามารถที่แตกต่างกัน
- ผ่านการเล่าเรื่องโดยเด็กขบถที่ยังอยู่ในระบบการศึกษาและฝากคำถามถึงสังคมไว้ว่า “สรุปแล้วเขาเป็นคนเก่งจริงหรือไม่?”
- ลูกค้า : Thailand Education Partnership
- ลักษณะคลิป : experiment
นักล่าข่าวปลอม
- ชื่อหนัง : นักล่าข่าวปลอม
- Concept
- รายการที่สะท้อนภาพปัญหาการใช้สื่อโซเชียลแบบขาดการระมัดระวังการส่งผลให้ถูกหลอกได้ง่ายเพราะรู้ไม่เท่าทันสื่อ
- เนื่องจากพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันเสพข่าวจากโลกโซเชียลมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ไม่จํากัดเพศหรือวัย ยิ่งทําให้ข่าวปลอมถูกพัฒนาและส่งต่อได้ง่าย จนเกิดเป็นวิกฤติข่าวปลอมขึ้นจึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องเรียนรู้ที่จะเท่าทันและป้องกันภัยจากสื่อโซเชียล
- เราจึงถ่ายทอดออกมาเป็นรูปรายการ ชื่อว่า “นักล่าข่าวปลอม” ที่อยากให้ทุกคนได้เรียนรู้วิธี แยกแยะข่าวจิรงกับข่าวปลอมให้ออกด้วยความสนุกสนาน ไม่เครียด และเข้าใจง่าย เพื่อไม่เกิดผลกระทบจากข่าวปลอมตามมา
- ลูกค้า : กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
- ลักษณะคลิป : gameshow
โรงเรียนนี้ได้รางวัลเยอะ
- ชื่อหนัง : โรงเรียนนี้ได้รางวัลเยอะ
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาระบบการศึกษาที่ข้องเกี่ยวกับค่านิยมวัดนักเรียนด้วยเกรดเฉลี่ยและชื่นชมเฉพาะเด็กเรียนเก่งเท่านั้น
- เมื่อโรงเรียนให้คุณค่ากับนักเรียนที่เก่งวิชาการ เพราะรางวัลที่โรงเรียนได้จากเด็กกลุ่มนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาให้โรงเรียน จนหลงลืมไปว่ายังมีเด็กๆ อีกหลายคนที่ถึงแม้พวกเขาไม่ได้เก่งวิชาการ แต่ก็มีความสามารถด้านอื่นๆ
- เราจึงถ่ายถอดออกมาในคอนเซปต์ “อย่าตีกรอบความเก่งไว้แค่ด้านวิชาการ” โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับลุงภารโรงที่อยู่โรงเรียนมานาน พบเด็กเก่ง เด็กเกรียนมามากมายและสิ่งสำคัญที่เขาค้นพบ คือ เล็งเห็นศักยภาพของกลุ่มเด็กที่ไม่เก่งวิชาการ พวกเขาก็สามารถเติบโตได้เช่นกัน ถ้าเราหันมาให้ความสำคัญและร่วมสร้างโรงเรียนที่เด็กทุกคนเติบโตได้
- ลูกค้า : TDRI
- ลักษณะคลิป : Film
ขับรถในชุมชนใช้ความเร็วเท่าไร?
- ชื่อหนัง : ขับรถในชุมชนใช้ความเร็วเท่าไร?
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จากผู้ขับขี่ที่ยังมีความเชื่อกันว่า “ขับช้าแค่นี้เอง ไม่เร็วเท่าไรหรอก”
- แต่ในความจริงนั้นคนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมขับรถด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนดก่อให้เกิดสถิติที่น่าตกใจ เพราะตัวเลขของชีวิตคนเดินเท้าและนักปั่นจักรยานในเมืองไทยต้องตายถึง 200 คน/ปีเลยทีเดียว
- โดยในไทยกำหนดความเร็วในเขตเมืองอยู่ที่ 80 กิโลโมตรต่อชั่วโมง และ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในเขตชุมชนที่มีความกว้างของถนนไม่เกิน 7 เมตร ซึ่งการใช้ความเร็วที่ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นจะทำให้โอกาสรอดชีวิตมีมากถึง 98% หากเกิดการขับรถชนคนที่เดินอยู่บนทางเท้า
- เราจึงถ่ายทอดผ่านการทดสอบให้อาสาสมัครขับขี่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมงช่วยให้คนเดินเท้ามีโอกาสรอดชีวิตได้จริงหรือไม่?
- ลูกค้า : Bloomberg philanthropies
- ลักษณะคลิป : experiment