toolmorrow
Social and Behavior Change Communication lab
เริ่มต้นจากการวิจัย วางกลยุทธ์ ออกแบบสื่อ หรือ ออกแบบกิจกรรมเพื่อทำลายความเชื่อผิดๆ และปรับความคิด “ชุดใหม่” อย่างมีมิติผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ พฤติกรรม และสังคมให้ดีขึ้น
ผลงานของเรา
หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต
- ชื่อหนัง : หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาสังคมที่คนภายนอกครอบครัวจะเสนอตัวช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้ เพราะมีอุปสรรคในการช่วยเหลือ คือ ความเชื่อที่ว่า “เป็นเรื่องในครอบครัวของคนอื่นอย่าไปยุ่ง”
- คนทั่วไปที่เคยพบเจอเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงในเด็กด้วยตัวเอง พบว่าสิ่งที่ทำให้เขาอยากเข้าไปช่วยเหลือเด็กคือ ความรู้สึกที่ “ไม่อยากให้เด็กเจ็บมากกว่านี้” แต่การช่วยเหลือไม่ได้เกิดขึ้น เพราะคนเลือกที่จะไม่ยุ่งและเกิดความกังวลใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากการแจ้งเหตุ นับเป็นเรื่องน่าเสียดายที่หยุดเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจไม่ได้ ทั้งที่มีอีกหนึ่งทางที่จะให้การช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายก็คือ โทรแจ้งเหตุที่เบอร์ 1300
- เราจึงถ่ายทอดออกมาในคอนเซปต์ “หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต” โดยเล่าผ่านเรื่องราวน่าสะเทือนใจของครอบครัวหนึ่งที่ดำเนินกิจการร้านอาหาร ในระหว่างที่เปิดร้านก็เกิดเหตุความรุนแรงขึ้น แต่ปรากฏให้เห็นว่าแทบไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือเด็กเลยซึ่งถ้าใครสักคนช่วยเหลือในตอนนั้นเด็กก็ไม่ได้จบที่การเจ็บตัว ทั้งที่ไม่ต้องเอาตัวเข้าไปช่วย แต่ขอแค่ “เสียง 1 เสียง” ในการโทรแจ้งเหตุก็จะสามารถช่วยชีวิตเด็กคนหนึ่งได้
- ลูกค้า : Unicef thailand
- ลักษณะคลิป : experiment
พ่อแม่แบบไหนที่อาจทำให้ลูกใช้ชีวิตไปวันๆโดยไม่รู้ตัว?
- ชื่อหนัง : พ่อแม่แบบไหนที่อาจทำให้ลูกใช้ชีวิตไปวันๆโดยไม่รู้ตัว?
- Concept
- วิดีโอสะท้อนปัญหาทัศนคติบางอย่างของพ่อแม่ที่ทำให้เด็กเติบโตมาเป็นเยาวชนที่ว่างงาน โดยมาจากความคิดว่า “ไม่เป็นไร ลูกฉัน ฉันเลี้ยงได้”
- การที่ผู้ปกครองคิดว่าสามารถเลี้ยงดูลูกได้จนตลอดรอดฝั่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็ก และเยาวชนอยู่แบบไร้จุดหมายในชีวิต
- “NEETs” กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม อาจดูเหมือนเยาวชนกลุ่มนี้เป็นคนขี้เกียจ เฉื่อยชา แต่ใช้ชีวิตสุขสบายภายใต้การดูแลของครอบครัว
- เพื่อลดผลจำนวน NEETs ที่ส่งผลกระทบถึงอนาคต ทั้งในมิติตลาดแรงงานและการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจใหม่ว่าลูกมีความสามารถ ลูกยืนด้วยตัวเองได้และคอยสนับสนุนให้พวกเขาก้าวไปในจุดที่พ้นจาก NEETs
- เราจึงถ่ายทอดออกมาในรูปแบบวิดีโอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างการตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจ NEETs ว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ผู้ปกครองจะละเลยไม่ได้
- ลูกค้า : สสส
- ลักษณะคลิป : interview
เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก
- ชื่อหนัง : เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับเรื่อง Hate speech เพราะหลายคนยังติดอยู่ในความคิดที่ว่า “พูดแค่นี้เอง…อย่าไปคิดมาก”
- การโดน Hate Speech ของคนที่มีความแตกต่างหรือมีปมด้อย เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายในสังคม ด้วยความคิดที่ว่า “พูดแค่นี้เอง…อย่าไปคิดมาก” แต่หลายครั้งคำพูดเหล่านี้สร้างบาดแผลในใจให้ผู้ฟังจนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้อย่างการนำไปสู่การแก้แค้นผู้กระทำหรือการฆ่าตัวตายในที่สุด
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก” ผ่านแนวคิดที่ว่า “คนพูดมันไม่เจ็บ แต่คนฟังเจ็บและเก็บไว้อีกนาน” จึงนำเสนอเรื่องราวความเจ็บปวดจากการถูกล้อปมด้อยผ่านการสัมภาษณ์เหยื่อคำพูด 3 คน ทั้งเรื่องรูปร่าง ส่วนสูงและสีผิวซึ่งเป็น 3 ประเด็นหลักที่พบเห็นบ่อยและสร้างบาดแผลให้ผู้ถูกกระทำมานักต่อนัก
- ลูกค้า : undp
- ลักษณะคลิป : interview
คุณเชื่อในคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” ไหม?
- ชื่อหนัง : คุณเชื่อในคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” ไหม?
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาทางสังคมในชุดความคิดที่ฝังรากคนไทยที่ว่า “เข้าใกล้คนที่ติดเชื้อ HIV เดี๋ยวก็ติดโรค”
- คนไทยยังมีความเชื่อและเข้าใจผิดที่ฝังลึกเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ HIV ว่าโรคนี้สามารถติดได้ง่ายๆ ไม่ว่าทางน้ำลาย ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน สัมผัส ยุงกัด หนักสุด คือ สามารถติดได้ทางอากาศ ฯลฯ ทำให้ยังมีการเลือกปฏิบัติของคนในสังคมต่อผู้ป่วย HIV กว่า 58.6 % ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการตีตราในสังคม
- เราจึงอยากถ่ายทอดความจริงว่าเชื้อ HIV ไม่ได้แพร่ผ่านการสัมผัสผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่ใกล้ชิดผู้มีเชื้อ HIV มาเป็นเวลาเกือบ 30 ปีซึ่งยังปลอดภัยจากโรคนี้ เล่าผ่านความเป็นอยู่ระหว่างเขากับผู้มีเชื้อเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ว่าทุกคนอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อ HIV ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย โดยวิดีโอชุดนี้จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง”
- ลูกค้า : TNY plus
- ลักษณะคลิป : interview
หนูมีความสุขเมื่อแม่เปลี่ยนไป
- ชื่อหนัง : หนูมีความสุขเมื่อแม่เปลี่ยนไป
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการสื่อสารภายในครอบครัวจากประสบการณ์จริงของ “น้องอุ้ม” ผู้เป็นเหยื่อความคิดของแม่ที่เคยคิดว่า “เราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก เพราะแม่เข้าใจลูกที่สุดแล้ว”
- ที่มาของชุดความคิดนี้เกิดจากประเทศไทยมีเยาวชนกว่า 13 ล้านคนที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมก้มหน้า ติดเกม เสพความบันเทิง หรืออื่นๆ ส่งผลให้ขาดความรับผิดชอบหลายๆ อย่าง เช่น การเข้าเรียนออนไลน์ไม่สม่ำเสมอ
- หลายครอบครัวจึงพยายามหาวิธีการที่คิดว่า “ดีที่สุดสำหรับลูก” มาหยุดพฤติกรรมข้างต้นของลูก เพราะคิดว่าลูกต้องชอบ เชื่อฟังและทำตาม
- แต่สุดท้ายไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี เนื่องจากไม่เข้าใจความต้องการของลูกอย่างแท้จริง ลูกจึงไม่ทำตามที่คาดหวังส่งผลให้ทะเลาะกันและส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “คนที่เข้าใจลูกที่สุด คือ คนที่ลูกเชื่อฟังที่สุด” ผ่านมุมมองของผู้ถูกกระทำ โดยมีเนื้อหาที่ให้ลูกคนหนึ่งมาเล่าการเปลี่ยนแปลงของแม่ที่พยายามใช้การสื่อสารเชิงบวกกับลูก ทำให้ความรู้สึกของลูกเปลี่ยนไป
- ลูกค้า : สสส
- ลักษณะคลิป : interview
อานุภาพคำพูด
- ชื่อหนัง : อานุภาพคำพูด
- แนวคิด
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาของการเลี้ยงลูกวัยรุ่น จากครอบครัวที่พ่อแม่มีความเชื่อที่ว่า “ต้องให้ดุลูกถึงจะทํา เพราะพูดดีๆ แล้วลูกไม่ทํา”
- นับเป็นเรื่องปกติเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอช่วงเวลาที่ลูกกำลังเติบโตและเรียนรู้ หลายครั้งที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมออกมาไม่น่ารัก ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง หลายท่านจึงเลือก “ทางลัด” ที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นทันทีด้วยการการดุด่า การใช้ถ้อยคำรุนแรงหรืออาจเพิ่มความโหดร้ายถึงขั้นทำร้ายร่างกาย
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “คำพูดที่ดีสร้างผลลัพธ์ทางความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด” ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า “คงไม่มีลูกคนไหนอยากรับฟังและเชื่อฟังพ่อแม่ที่ดีแต่ใช้คำพูดและการกระทำที่รุนแรง” โดยมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง คิดก่อนพูด กับ พูดก่อนคิด วิธีการทั้ง 2 แบบจะทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมาแตกต่างกันอย่างไร
- ลูกค้า : กรมกิจการสตรีและครอบครัว
- ลักษณะคลิป : วิดีโอเปรียบเทียบ
Our Clients









WEEKLY UPDATES
หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต
- ชื่อหนัง : หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาสังคมที่คนภายนอกครอบครัวจะเสนอตัวช่วยเหลือเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้ เพราะมีอุปสรรคในการช่วยเหลือ คือ ความเชื่อที่ว่า “เป็นเรื่องในครอบครัวของคนอื่นอย่าไปยุ่ง”
- คนทั่วไปที่เคยพบเจอเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงในเด็กด้วยตัวเอง พบว่าสิ่งที่ทำให้เขาอยากเข้าไปช่วยเหลือเด็กคือ ความรู้สึกที่ “ไม่อยากให้เด็กเจ็บมากกว่านี้” แต่การช่วยเหลือไม่ได้เกิดขึ้น เพราะคนเลือกที่จะไม่ยุ่งและเกิดความกังวลใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากการแจ้งเหตุ นับเป็นเรื่องน่าเสียดายที่หยุดเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจไม่ได้ ทั้งที่มีอีกหนึ่งทางที่จะให้การช่วยเหลือเด็กที่ถูกทำร้ายก็คือ โทรแจ้งเหตุที่เบอร์ 1300
- เราจึงถ่ายทอดออกมาในคอนเซปต์ “หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต” โดยเล่าผ่านเรื่องราวน่าสะเทือนใจของครอบครัวหนึ่งที่ดำเนินกิจการร้านอาหาร ในระหว่างที่เปิดร้านก็เกิดเหตุความรุนแรงขึ้น แต่ปรากฏให้เห็นว่าแทบไม่มีใครเข้าไปช่วยเหลือเด็กเลยซึ่งถ้าใครสักคนช่วยเหลือในตอนนั้นเด็กก็ไม่ได้จบที่การเจ็บตัว ทั้งที่ไม่ต้องเอาตัวเข้าไปช่วย แต่ขอแค่ “เสียง 1 เสียง” ในการโทรแจ้งเหตุก็จะสามารถช่วยชีวิตเด็กคนหนึ่งได้
- ลูกค้า : Unicef thailand
- ลักษณะคลิป : experiment
พ่อแม่แบบไหนที่อาจทำให้ลูกใช้ชีวิตไปวันๆโดยไม่รู้ตัว?
- ชื่อหนัง : พ่อแม่แบบไหนที่อาจทำให้ลูกใช้ชีวิตไปวันๆโดยไม่รู้ตัว?
- Concept
- วิดีโอสะท้อนปัญหาทัศนคติบางอย่างของพ่อแม่ที่ทำให้เด็กเติบโตมาเป็นเยาวชนที่ว่างงาน โดยมาจากความคิดว่า “ไม่เป็นไร ลูกฉัน ฉันเลี้ยงได้”
- การที่ผู้ปกครองคิดว่าสามารถเลี้ยงดูลูกได้จนตลอดรอดฝั่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็ก และเยาวชนอยู่แบบไร้จุดหมายในชีวิต
- “NEETs” กลุ่มเยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา การทำงาน หรือการฝึกอบรม อาจดูเหมือนเยาวชนกลุ่มนี้เป็นคนขี้เกียจ เฉื่อยชา แต่ใช้ชีวิตสุขสบายภายใต้การดูแลของครอบครัว
- เพื่อลดผลจำนวน NEETs ที่ส่งผลกระทบถึงอนาคต ทั้งในมิติตลาดแรงงานและการศึกษาจึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจใหม่ว่าลูกมีความสามารถ ลูกยืนด้วยตัวเองได้และคอยสนับสนุนให้พวกเขาก้าวไปในจุดที่พ้นจาก NEETs
- เราจึงถ่ายทอดออกมาในรูปแบบวิดีโอสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างการตระหนักรู้และสร้างความเข้าใจ NEETs ว่าเป็นปัญหาใกล้ตัวที่ผู้ปกครองจะละเลยไม่ได้
- ลูกค้า : สสส
- ลักษณะคลิป : interview
เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก
- ชื่อหนัง : เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาทางสังคมเกี่ยวกับเรื่อง Hate speech เพราะหลายคนยังติดอยู่ในความคิดที่ว่า “พูดแค่นี้เอง…อย่าไปคิดมาก”
- การโดน Hate Speech ของคนที่มีความแตกต่างหรือมีปมด้อย เกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายในสังคม ด้วยความคิดที่ว่า “พูดแค่นี้เอง…อย่าไปคิดมาก” แต่หลายครั้งคำพูดเหล่านี้สร้างบาดแผลในใจให้ผู้ฟังจนเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้อย่างการนำไปสู่การแก้แค้นผู้กระทำหรือการฆ่าตัวตายในที่สุด
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “เรื่องเล็กแต่เจ็บมาก” ผ่านแนวคิดที่ว่า “คนพูดมันไม่เจ็บ แต่คนฟังเจ็บและเก็บไว้อีกนาน” จึงนำเสนอเรื่องราวความเจ็บปวดจากการถูกล้อปมด้อยผ่านการสัมภาษณ์เหยื่อคำพูด 3 คน ทั้งเรื่องรูปร่าง ส่วนสูงและสีผิวซึ่งเป็น 3 ประเด็นหลักที่พบเห็นบ่อยและสร้างบาดแผลให้ผู้ถูกกระทำมานักต่อนัก
- ลูกค้า : undp
- ลักษณะคลิป : interview
คุณเชื่อในคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” ไหม?
- ชื่อหนัง : คุณเชื่อในคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง” ไหม?
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาทางสังคมในชุดความคิดที่ฝังรากคนไทยที่ว่า “เข้าใกล้คนที่ติดเชื้อ HIV เดี๋ยวก็ติดโรค”
- คนไทยยังมีความเชื่อและเข้าใจผิดที่ฝังลึกเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ HIV ว่าโรคนี้สามารถติดได้ง่ายๆ ไม่ว่าทางน้ำลาย ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน สัมผัส ยุงกัด หนักสุด คือ สามารถติดได้ทางอากาศ ฯลฯ ทำให้ยังมีการเลือกปฏิบัติของคนในสังคมต่อผู้ป่วย HIV กว่า 58.6 % ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เกิดการตีตราในสังคม
- เราจึงอยากถ่ายทอดความจริงว่าเชื้อ HIV ไม่ได้แพร่ผ่านการสัมผัสผ่านการสัมภาษณ์ผู้ที่ใกล้ชิดผู้มีเชื้อ HIV มาเป็นเวลาเกือบ 30 ปีซึ่งยังปลอดภัยจากโรคนี้ เล่าผ่านความเป็นอยู่ระหว่างเขากับผู้มีเชื้อเพื่อสร้างความเข้าใจใหม่ว่าทุกคนอยู่ร่วมกับผู้มีเชื้อ HIV ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัย โดยวิดีโอชุดนี้จะทำให้คุณเข้าใจความหมายของคำว่า “ความรักชนะทุกสิ่ง”
- ลูกค้า : TNY plus
- ลักษณะคลิป : interview
หนูมีความสุขเมื่อแม่เปลี่ยนไป
- ชื่อหนัง : หนูมีความสุขเมื่อแม่เปลี่ยนไป
- Concept
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาการสื่อสารภายในครอบครัวจากประสบการณ์จริงของ “น้องอุ้ม” ผู้เป็นเหยื่อความคิดของแม่ที่เคยคิดว่า “เราเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูก เพราะแม่เข้าใจลูกที่สุดแล้ว”
- ที่มาของชุดความคิดนี้เกิดจากประเทศไทยมีเยาวชนกว่า 13 ล้านคนที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมก้มหน้า ติดเกม เสพความบันเทิง หรืออื่นๆ ส่งผลให้ขาดความรับผิดชอบหลายๆ อย่าง เช่น การเข้าเรียนออนไลน์ไม่สม่ำเสมอ
- หลายครอบครัวจึงพยายามหาวิธีการที่คิดว่า “ดีที่สุดสำหรับลูก” มาหยุดพฤติกรรมข้างต้นของลูก เพราะคิดว่าลูกต้องชอบ เชื่อฟังและทำตาม
- แต่สุดท้ายไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดี เนื่องจากไม่เข้าใจความต้องการของลูกอย่างแท้จริง ลูกจึงไม่ทำตามที่คาดหวังส่งผลให้ทะเลาะกันและส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “คนที่เข้าใจลูกที่สุด คือ คนที่ลูกเชื่อฟังที่สุด” ผ่านมุมมองของผู้ถูกกระทำ โดยมีเนื้อหาที่ให้ลูกคนหนึ่งมาเล่าการเปลี่ยนแปลงของแม่ที่พยายามใช้การสื่อสารเชิงบวกกับลูก ทำให้ความรู้สึกของลูกเปลี่ยนไป
- ลูกค้า : สสส
- ลักษณะคลิป : interview
อานุภาพคำพูด
- ชื่อหนัง : อานุภาพคำพูด
- แนวคิด
- วิดีโอชุดนี้สะท้อนปัญหาของการเลี้ยงลูกวัยรุ่น จากครอบครัวที่พ่อแม่มีความเชื่อที่ว่า “ต้องให้ดุลูกถึงจะทํา เพราะพูดดีๆ แล้วลูกไม่ทํา”
- นับเป็นเรื่องปกติเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องพบเจอช่วงเวลาที่ลูกกำลังเติบโตและเรียนรู้ หลายครั้งที่พวกเขาแสดงพฤติกรรมออกมาไม่น่ารัก ไม่เป็นไปตามที่เราคาดหวัง หลายท่านจึงเลือก “ทางลัด” ที่จะหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นทันทีด้วยการการดุด่า การใช้ถ้อยคำรุนแรงหรืออาจเพิ่มความโหดร้ายถึงขั้นทำร้ายร่างกาย
- เราจึงถ่ายทอดออกมาภายใต้คอนเซ็ปต์ “คำพูดที่ดีสร้างผลลัพธ์ทางความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด” ซึ่งเกิดจากแนวคิดที่ว่า “คงไม่มีลูกคนไหนอยากรับฟังและเชื่อฟังพ่อแม่ที่ดีแต่ใช้คำพูดและการกระทำที่รุนแรง” โดยมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง คิดก่อนพูด กับ พูดก่อนคิด วิธีการทั้ง 2 แบบจะทําให้เกิดผลลัพธ์ที่ตามมาแตกต่างกันอย่างไร
- ลูกค้า : กรมกิจการสตรีและครอบครัว
- ลักษณะคลิป : วิดีโอเปรียบเทียบ